Solar roof /on grid

จากวิกฤติพลังงานไฟฟ้า และการจ่ายยอดบิลค่าไฟฟ้าประจำเดือนไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน  หรือแม้กระทั่งภาคอุตสาหกรรม     สิ่งที่หลีกหนีไม่พ้นคือ  ค่าไฟฟ้าที่แพง  ที่เป็นเงาตามตัวดั่งเช่น กับน้ำมันปิโตรเลียม ที่หลายหน่วยงาน พยามที่จะประหยัด และหลีกไปใช้  พลังงานด้านอื่นทดทดแทน  เช่น การใช้เชื้อเพลิงแก๊ส  LPG แทนน้ำมัน  ในรถยนต์  การใช้ พลังงานแสงอาทิตย์    มาใช้แทนพลังงานไฟฟ้า จากภาครัฐบาล ล่าสุดภาครัฐบาลได้คลอดนโยบาย “โซล่าร์รูฟท็อป” พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา  ที่จำหน่ายกลับคืนให้ภาครัฐบาลได้  แต่ก็ยังมี อุปสรรคมากมาย เช่น  กำลังการผลิตที่ไม่เกิน 10Kw สำหรับภาคครัวเรือน แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงว่าจะเข้าข่ายเป็นโรงงานที่ต้องมี ใบอนุญาติ รง.4หรือไม่ และเงื่อนไขอื่นๆ ที่ยังไม่ลงตัว ประกอบกับการรับซื้อคืน ยังมีข้อจำกัดปริมาณผู้จะขออนุญาตเสนอขายไฟฟ้าอยู่มาก

 ระบบ On Grid  เพื่อลดค่าไฟ

วันนี้ได้มีการนำ ระบบโซล่าร์เซลล์พลังงานทดแทนมา ใช้กันมากขึ้นซึ่งหลายหน่วยงานได้เริ่มเห็นความสำคัญมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ภาคครัวเรือน เพื่อนำมาลดค่าไฟฟ้าโดยการนำแผงโซล่าร์เซลล์ ซึ่งปัจจุบันที่นิยมใช้กันอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิด โมโน คริสตัลไลน์ Mono crystallline และชนิด โพลี คริสตัลไลน์Poly crystalline ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) จากนั้นจึงนำไปป้อนให้กับ Inverter On Grid  หรือ Grid Tie Inverter เพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับ City Line หรือการไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์มีความง่ายในการเชื่อมต่อเป็นอย่างมาก หลักการโดยการนำแผงโซล่าร์เซลล์มาต่ออนุกรมกันเพื่อให้แรงดันDc Voltage อยู่ในrange ของ Grid Tie Inverter Input

ชนิดแผงแบบ Mono และ Polycrystalline                                                                          Grid Tie Inverter

ข้อดีของการใช้ Grid Tie Inverter คือ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ระบบไฟฟ้าในบ้านไม่ต้องแก้ไข ช่วยลดค่าไฟตามกำลังวัตต์ที่เราติดตั้ง ติดตั้งง่ายแค่เดินสายจากแผง Solar Cell 2 เส้นมาต่อที่ Grid Tie Inverter แล้วต่อเข้ากับไฟบ้านจุดไหนก็ได้ เปิด Switch เท่านี้ก็เสร็จแล้ว  ลงทุนมากลงทุนน้อยก็ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ของแต่ละคน ไม่มีค่าบำรุงรักษาเพิ่มเติมเพราะไม่มีแบตเตอรี่ ข้อเสียก็คือเวลาไฟบ้านดับมันก็ดับไปด้วย จุดคุ้มทุนประมาณ 5 ปี ที่นี้ก็แล้วแต่ว่าจะลงทุนทำหรือไม่ทำกัน สำหรับวิธีนี้ที่ดีที่สุดคือไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เหมาะสำหรับที่มีไฟฟ้าใช้อยู่แล้วที่ต้องการลดค่าไฟลง

เรื่องประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ ชนิด ผลึก (crystalline) ระหว่าง โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline)  กับ  โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline)    พบว่า แผงโซล่าเซลล์ชนิด  Monocrystalline  มีประสิทธิภาพดีกว่าชนิด Polycrystalline ประมาณ 10 – 15 %  และจะมีราคาสูงกว่า 20%  แผงโซล่าเซลล์ชนิด Monocrystalline  ถึงแม้ราคาจะสูงกว่า แต่เมื่อเทียบปริมาณไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้   คุ้มค่ากว่าหลายเท่า แผงโซ ล่าเซลล์ชนิด   Monocrystalline   ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตั้งแต่พระอาทิตย์เริ่มขึ้น(6.00น.)จนพระอาทิตย์ตก(18.30น.)ไม่แพ้แผงโซล่าเซลล์ชนิดThinfilm

                                  ภาพแสดงการต่อ Single Line ของระบบ Grid Tie Inverter ร่วมกับระบบไฟฟ้าเดิม  

เมื่อเราคำนวณได้แล้วว่าเรามีพื้นที่ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา (solar roof) ประมาณเท่าไหร่  ให้เรานำ พื้นที่ที่จะติดตั้ง หารด้วยขนาดของแผง ซึงปัจจุบันแผงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สำหรับแผงโซล่าเซลล์ชนิดคริสตัลไลน์ (mono or Poly crystalline) คือขนาดกำลังไฟฟ้า 250 วัตต์ ใน 1 แผงจะมีขนาดแผงประมาณ 2 ตารางเมตร  ให้นำขนาดของแผง หารด้วย พื้นทีติดตั้ง สมมติว่าเรามีพื้นที่บนหลังคา  กว้าง 8 เมตร  ยาว 10 เมตร  จะมีพื้นที่ติดตั้ง 8 x 10 = 80  ตารางเมตร  ให้นำมาหารด้วย 2 จะทราบจำนวนแผงที่ต้องติดตั้ง เท่ากับ 40 แผง  เมื่อทราบจำนวนแผงแล้ว ให้นำมาคูณกับขนาดกำลังไฟฟ้าของ แผงโซล่าเซลล์ นั่นคือ 40 แผง x 250 วัตต์  จะได้เท่ากับ 5,100 W หรือ 10 kW  เพราะฉะนั้นในบ้านหรือโรงงานของท่านจะสามารถติดตั้งโซลาร์รูฟ  (Solar roof) ได้ 10 kW  ซึ่งค่าใช้จ่ายพร้อมติดตั้งจะอยู่ที่ 60,000 บาท ต่อ 1 kW ขึ้นกับชนิดของอุปกรณ์และความยากง่ายในการติดตั้ง

 

 

ลำดับดับ

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ใช้พลังงานไฟฟ้า(W)

จำนวน

ขนาดรวมกำลังไฟฟ้า (W)

จำนวน ชม.ใช้งาน ต่อวัน

ขนาดกำลังรวม (W)

1

หลอดแสงสว่าง

18

10

180

10

1,800

2

เครื่องทำน้ำอุ่น

2,500

2

5,000

1

5,000

3

เครื่องซักผ้า

480

1

480

1

480

4

เตารีด

1,000

1

1,000

1

1,000

5

พัดลม

50

2

100

4

400

6

ปั๊มน้ำ

550

2

1,100

2

2,200

รวมพลังงานที่ใช้ ต่อ วัน

10,880

รวมพลังงานที่ใช้ ต่อ เดือน

326,400

 

ในกรณีเป็นระบบ on grid ไม่จำเป็นต้องมี battery
คุ้มค่าที่สุด ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ มีเสถียรภาพทางพลังงานสูง ไม่ต้องสนใจขนาดของโหลด เหมาะสำหรับสถานที่ ที่มีไฟฟ้าใช้อยู่แล้ว โรงงานอุตสาหกรรม,โรงเรียน,มหาวิทยาลัย,อบต.,วัด,โรงน้ำแข็ง ,โรงเรียน,โรงสีฯลฯ 

รายละเอียด ของโซล่าเซลล์

ลดค่าไฟ

ลดค่าไฟ/ บาท และจุดคุ้มทุน

ลำดับ

จำนวนแผง

ขนาด kW

รวมราคา

หน่วย /เดือน

 1เดือน

12เดือน

จุดคุ้มทุน

1

6

1.5

115,244

225

1,125

13,500

8.5

2

8

2

156,000

300

1,500

18,000

8.6

3

12

3

194,568

450

2,250

27,000

7.2

4

20

5

295,443

750

3750

45,000

6.5

5

40

10

580,500

1500

7,500

90,000

6.4

*การคำนวณจากแสงแดด 5 ชม. ต่อ วัน  ค่าไฟคิดที่ 5 บาท /หน่วย






Visitors: 66,517